“สุนทรียภาพของการแปลงรูป” Aesthetics of Change

สุนทรียภาพของการแปลงรูป

ชื่อศิลปิน   อรุณกมล ทองมอญ / Aroonkamon Thongmorn

ชื่อผลงาน   สุนทรียภาพของการแปลงรูป

ชื่อผลงาน (ภาษาอังกฤษ)   Aesthetics of Change

ประเภท   สื่อประสม

ขนาด   162 x 121 x 125 cm

เทคนิค   สื่อผสม (พับกระดาษ วัตถุ และวัสดุ) / Mixed media (origami, materials and objects)

นิทรรศการ   การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 37 พ.ศ. 2563

รางวัลที่ได้รับ   รางวัลเกียรตินิยม เหรียญเงิน “ศิลป์ พีระศรี”

ผู้ครอบครอง   มหาวิทยาลัยศิลปากร

เนื่องจากผู้สร้างสรรค์เคยทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ รู้สึกคุ้นเคยกับอะไหล่เครื่องยนต์ และเครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน เพื่อประกอบสร้างสินค้าที่เป็นผลผลิตของโรงงาน จึงรู้สึกสะเทือนใจในความเป็นระบบระเบียบ และความรวดเร็วในการประกอบการของเครื่องจักรที่มีอำนาจเหนือกว่าความเป็นมนุษย์ อย่างไรก็ดี ผู้สร้างสรรค์มีความประทับใจในลักษณะพิเศษของวัสดุที่บ่งบอกถึงความเป็นอุตสาหกรรม เช่น ลักษณะทางกายภาพ ตัวเลขรหัสบางอย่างบนวัตถุที่เป็นภาษาของอุตสาหกรรม เศษวัสดุที่หมดอายุการใช้งานนั้น คนทั่วไปอาจมองว่าเป็นสิ่งสกปรกดูเกรอะกรัง ไร้ค่า แต่ผู้สร้างสรรค์กลับเห็นความมีชีวิต ความงามทางกายภาพที่ปรากฏอยู่บนวัตถุ จึงได้ใช้เทคนิคการพับกระดาษเป็นเครื่องมือในการแปลงรูปเศษวัสดุ เป็นงานศิลปะสื่อผสมจากจินตนาการ กระบวนการทำซ้ำด้วยแรงมือที่แฝงไว้ซึ่งความเอาใจใส่และความละเอียดประณีต ซึ่งเป็นวิธีการที่ผู้สร้างสรรค์พยายามเรียกคืนความเป็นมนุษย์ จากวัตถุเดิมที่มีความหมายและหน้าที่ในทางอุตสาหกรรม ไปสู่รูปทรงนามธรรมที่ให้สาระและสุนทรียภาพทางวัตถุใหม่ในภาษาของศิลปะ Having worked in electronic manufacturers and acquainted with engine spare parts as well as equipment, the artist is immensely moved by how orderly and systematic machinery operate, especially its superiority over human operation. The artist, however, is impressed by the characteristics and beauty of materials used in the industry such as physical characteristics, industry serial numbers, and remnants, all of which are considered invaluable to most people. This mixed media art is created out of these materials through paper folding technique (Origami). Each fold is intricately done as a means to revive humanity from industrial materials, forming abstract art that carries a novel aesthetic interpretation.

ดูแลและจัดการ : หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สถานที่ตั้ง : หอศิลป์สนามจันทร์