สะพานช้างโรงสี

สะพานช้างโรงสีิ

ที่ตั้ง
เป็นสะพานคอนกรีตสร้างข้ามคลองคูเมืองเดิม ตั้งอยู่บริเวณหลังกระทรวงกลาโหม ปลายสะพานอีกด้านหนึ่งคือบริเวณหน้ากระทรวงมหาดไทย อยู่ระหวางแขวงพระบรมมหาราชวังและแขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ประวัติ
สะพานช้างโรงสีสร้างเมื่อร.ศ.106 ในสมัยรัชกาลที่5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยพระองค์แรก แต่เดิมเป็นสะพานไม้ซุงแข็งแรงแน่นหนา ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังมีความจำเป็นต้องใช้ช้างสำหรับการศึกสงครามป้องกันและฟื้นฟูราชอาณาจักร จึงต้องมีสะพานลักษณะพิเศษ คือแน่นหนาแข็งแรงสำหรับช้างข้ามคลองคูเมืองเดิมเพื่อเข้าเขตราชธานี สะพานที่มีความแข็งแรงพอที่จะให้ช้างเดินข้ามได้จะเรียกว่าสะพานช้างทั้งสิ้น มีหลักฐานเกี่ยวกับสะพานช้างอยู่ 3 สะพานได้แก่ สะพานช้างวังหน้า ปัจจุบันเป็นที่ลาดของเชิงสะพานปิ่นเกล้า สะพานช้างปากคลอง ปัจจุบันคือสะพานเจริญรัช และสะพานช้างถนนบำรุงเมือง ซึ่งเป็นสะพานช้างที่เหลืออยู่เพียงสะพานเดียวเรียกกันว่า สะพานช้างโรงสี เหตุที่ได้ชื่อว่าช้างโรงสีเนื่องมากจากสะพานช้างนี้อยู่ใกล้กับโรงสีข้าวของฉางหลวงสำหรับพระนคร คนทั่วไปจึงเรียกว่า "สะพานช้างโรงสี" เพื่อให้รู้ถึงสถานที่ตั้ง

สะพานช้างโรงสีิ          สะพานช้างโรงสีิ        สะพานช้างโรงสีิ
ที่มา : หนังสือสะพานเก่ากรุงเทพ

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญ
สะพานช้างโรงสีแต่เดิมเป็นสะพานไม้ซุง ต่อมาได้รับการซ่อมเปลี่ยนแปลงรูปร่างมาหลายครั้ง ครั้งสำคัญคือ เมื่อ พ.ศ. 2453 ขณะสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้โปรดให้บูรณะสะพานเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กแบบเรียบง่าย แต่มีความงามอยู่ที่ลูกกรงปูนหล่อโปร่งเบา คานสะพานโค้ง ที่ปลายสะพาน 4 มุมประดับรูปหัวสุนัขมีอักษรบอกศักราช 129 เป็นสัญลักษณ์ของปีที่ซ่อมสะพาน ซึ่งตรงกับปีประสูติของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ใน พ.ศ.2518 กรุงเทพมหานครปรับปรุงและขยายสะพานได้พยายามคงลักษณะรูปแบบเดิมไว้แต่เปลี่ยนโครงสร้างเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กและลูกกรงปูนหล่อโปร่งเบา ที่เสาปลายราวสะพานมีรูปสุนัขหมายถึงปีจอซึ่งเป็นปีที่สร้างสะพานนี้

                                     ลวดลายของราวลูกกรง
                                                       ลวดลายของราวลูกกรง (สภาพในปัจจุบัน )
 รูปปั้นหัวสุนัข บริเวณปลายทั้ง 4 ด้านของสะพานและราวลูกกรง
รูปปั้นหัวสุนัข บริเวณปลายทั้ง 4 ด้านของสะพานและราวลูกกรง
                                     ลวดลายของราวด้านบนเป็นลายเกลียวเชือก
                                                   ลวดลายของราวด้านบนเป็นลายเกลียวเชือก
 ลวดลายของราวด้านบนเป็นลายเกลียวเชือก
ลวดลายของราวด้านบนเป็นลายเกลียวเชือก
 
 

บรรณานุกรม 

กรมศิลปากร. รายงานการสำรวจโบราณสถานในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : งานผังรูปแบบ ฝ่ายอนุรักษ์โบราณสถาน กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2538.
ศิริชัย นฤมิตรเรขการ. สะพานเก่ากรุงเทพฯ (Old bridges of Bangkok). กรุงเทพฯ : สยามสมาคมฯ, 2520.

 
 
 
สงวนลิขสิทธิ์ 2558 หอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง ม.ศิลปากร
Designed by themescreative.com