สะพานมหาดไทยอุทิศ

bridge-mahadthai clip image002 0000ที่ตั้ง
เป็นสะพานของถนนบริพัตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เพื่อข้ามคลองมหานาค ณ จุดบรรจบระหว่างคลองมหานาคกับคลองรอบกรุงหรือคลองโอ่งอ่าง-บางลำพู มาเชื่อมกับถนนดำรงรักษ์และถนนหลานหลวง รวมทั้งถนนราชดำเนิน

ประวัติ
สะพานมหาดไทยอุทิศมีชื่อเรียกกันโดยสามัญว่าสะพานร้องไห้ เหตุที่มีชื่อสามัญว่า “ สะพานร้องไห้ ” เนื่องจากรูปปฎิมากรรมที่ประดับสะพานเป็นรูปผู้ใหญ่และเด็กกำลังร้องไห้ และมักสันนิษฐานกันว่าสะพานนี้สร้างขึ้นเพื่อแสดงความโศกเศร้าของพสกนิกรในการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต แต่หากดูจากป้ายที่จารึกชื่อและปี พ.ศ.ที่สร้างแล้ว จะเห็นได้ว่าปีที่สร้างคือ พ.ศ. 2467 เป็นปีที่ 15 ในรัชกาลที่ 6 คือห่างจากปีที่พระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 สวรรคตไปแล้วถึง 15 ปี อันที่จริงสะพานนี้บรรดาข้าราชการในกระทรวงสมัยนั้น ได้ร่วมกันบริจาคสร้างขึ้นในโอกาสที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพ้นจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเพื่อเป็นการแสดงความอาลัยถึงพระองค์ท่าน

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญ
สะพานเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กที่แตกต่างจากสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กอื่น ๆ ที่สร้างขึ้นในสมัยนั้น กล่าวคือ โครงสร้างรองรับสะพานเป็นโค้งตันทั้งแท่ง ไม่มีคาน ลูกกรงสะพานอันเป็นรูปหรีด ซุ้มย่อยมีลายนูนรูปราชสีห์ อันเป็นสัญลักษณ์ของกระทรวงมหาดไทย และซุ้มใหญ่มีรูปประติมากรรมนูนต่ำแสดงผู้ใหญ่และเด็ก แสดงความกำสรดล้วนออกแบบและสรรค์สร้างได้อย่างงดงามประทับใจมาก จึงเป็นสะพานที่มีผู้รู้จักสะพานหนึ่งของกรุงเทพ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนสะพานมหาดไทยอุทิศ เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 92 ตอนที่ 61 วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2518 

 

bridge-mahadthai clip image006ป้ายชื่อสะพาน bridge-mahadthai clip image002 0004                  ลายนูนรูปราชสีห์           
bridge-mahadthai clip image004 bridge-mahadthai clip image002 0002                    รูปประติมากรรมนูนต่ำ
             ผู้ใหญ่และเด็กแสดงความกำสรด
 bridge-mahadthai clip image005

 

บรรณานุกรม
ศิริชัย นฤมิตรเรขการ. สะพานเก่ากรุงเทพฯ (Old bridges of Bangkok). กรุงเทพฯ : สยามสมาคมฯ, 2520.

 

สงวนลิขสิทธิ์ 2558 หอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง ม.ศิลปากร
Designed by themescreative.com