ท่าช้างวังหลวง

ที่ตั้ง

     ถนนหน้าพระลานข้างราชนาวีสโมสร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ประวัติ

     สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 เพราะแต่เดิมการคมนาคมต้องอาศัยทางน้ำเป็นส่วนใหญ่ ท่าช้างวังหลวงเป็นบริเวณประตูเมืองที่นำช้างฝ่ายพระบรมมหาราชวังหรือวังหลวง ลงอาบน้ำ จึงเรียกกันว่า “ท่าช้างวังหลวง”

      ใน พ.ศ. 2351 พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระศรีศากยมุนีจากจังหวัดสุโขทัยลงมาทางแพเพื่อประดิษฐานในพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม เมื่อชะลอพระพุทธรูปขึ้นจากท่าไม่สามารถผ่านเข้าประตูได้ โปรดให้รื้อประตูและกำแพงบางส่วนออก โปรดให้สร้างประตูใหม่ พระราชทานนามว่า “ประตูท่าพระ” คำว่า “ท่าพระ” จึงเป็นนามที่ใช้เรียกกันเป็นทางราชการ แต่ประชาชนยังคงนิยมเรียกว่า “ท่าช้าง”

สภาพแวดล้อมทั่วไป

     จากถนนหน้าพระลานมายังตัวท่าสองฟากเป็นอาคาร ทางด้านซ้ายมือเป็นอาคารของราชนาวิกสโมสรของทหารเรือ ทางด้านขวาเป็นอาคารพาณิชย์เป็นร้านค้า หาบเร่ และแผงลอย

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

     เดิมบริเวณท่าก่อด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้องต่อจากตัวท่ามีสะพานไม้ ทอดเชื่อมไปต่อกับสะพานเหล็กเพื่อใช้เป็นทางเดินไปยังโป๊ะเรือ และมีทางเดินแยกไปทางซ้ายอีกโป๊ะหนึ่ง ปัจจุบันตัวท่าเป็นพื้นไม้ ทอดเชื่อมกับสะพานเหล็กเพื่อใช้เป็นทางเดินไปยังโป๊ะเรือ และมีทางเดินแยกไปทางซ้ายอีกโป๊ะหนึ่ง โดยตัวท่าเป็นคอนกรีต เชื่อมต่อกับสะพานเหล็ก เพื่อใช้เป็นทางเดินไปยังโป๊ะเรือด่วน

 

DSC 00471   DSC 0063 

                                                        สภาพบนตัวท่า                                  สะพานลงสู่โป๊ะเรือ

      DSC 0118 DSC 0105         

โป๊ะเรือ  

                                 

 

DSC 0096

ทางเดินสู่โป๊ะเรือด่วน 

DSC 0101 DSC 0100

โป๊ะเรือด่วน

 

บรรณานุกรม

        เดโช สวนานนท์. (บรรณาธิการ). (2525). จดหมายเหตุการณ์อนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

        รายงานการสำรวจโบราณสถานในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 4. (2535). กรุงเทพฯ: งานผังรูปแบบฯ ฝ่ายอนุรักษ์โบราณสถาน กองโบราณคดี กรมศิลปากร.

 

สงวนลิขสิทธิ์ 2558 หอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง ม.ศิลปากร
Designed by themescreative.com