ย่านพาหุรัด

อาณาเขต
ทิศเหนือ     จรด  ถนนพาหุรัด
ทิศใต้         จรด  การไฟฟ้านครหลวง
ทิศใต้         จรด  การไฟฟ้านครหลวง
ทิศตะวันตก  จรด  ถนนตรีเพชร
พื้นที่ของตลาดพาหุรัดมีบริเวณกว้างจรดถนนหลายสาย แต่ส่วนที่เป็นตัวตลาดจริงนั้นจะอยู่ใจกลางของพื้นที่ ซึ่งส่วนนี้จะเป็นตลาดเก่า โดยรอบจะเป็นร้านค้า อาคารพาณิชย์มีของขายหลายอย่างทั้งเสื้อผ้า เครื่องแต่งตัวอาหารและของใช้ต่างๆ ส่วนมากจะเป็นของพวกแขก หรือเป็นย่านลิดเติ้ลอินเดียของกรุงเทพฯ
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ถนนพาหุรัดนับว่าเป็นถนนสำคัญสายหนึ่งรองลงมาจากถนนเจริญกรุง บำรุงเมือง เฟื่องนคร เพราะเป็นย่านที่ติดต่อค้าขายกันเป็นส่วนมาก ในสมัยกรุงธนบุรีได้มีพวกญวนมาตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ซึ่งญวนพวกนี้ได้อพยพมาครั้งเมื่อเกิดการจลาจลวุ่นวายในเมืองเว้ พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดฯ ให้รับไว้แล้วพระราชทานที่ให้พักอาศัย คือที่แถวพาหุรัดทุกวันนี้ ซึ่งแต่ก่อนนี้เรียกว่าบ้านญวนหรือถนนบ้านญวน จนกระทั่งสร้างถนนพาหุรัดแล้วจึงเปลี่ยนชื่อมาเรียกว่าพาหุรัดตามชื่อถนน
เหตุที่สร้างถนนพาหุรัดนั้น ก็เนื่องมาจากเกิดเพลิงไหม้บ้านญวนตำบลบ้านหม้อและทำให้ที่ที่ไหม้นั้นมีพื้นที่ติดต่อกันมีที่ว่างมาก จึงได้ตัดถนนขึ้นที่ตรงนั้นและนับว่าเป็นถนนที่กว้างแห่งหนึ่งทีเดียว คือกว้าง ถึง 20 เมตร ยาวตั้งแต่ถนนบ้านหม้อถึงถนนจักรเพชรเป็นระยะทาง 525 เมตร และที่ใช้ชื่อว่า ถนนพาหุรัด นั้น เข้าใจว่าเป็นการตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย ประไพพรรณพิจิตรนริศราชกุมารี ซึ่งเป็นพระองค์ที่ 1ในสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนารถ ในรัชกาลที่ 5
ตรงปลายที่ถนนพาหุรัดมาบรรจบกับถนนจักรเพชรนั้น ปัจจุบันนี้มีตรอกหนึ่งซึ่งจะเข้าไปสู่สะพานหัน ตรอกนี้ตั้งชื่อใหม่ว่า วานิช 1 บริเวณนี้เรียกว่าตลาดสะพานหัน

 building-pahurat clip image002
                  สภาพย่านพาหุรัดในปัจจุบันมีร้านค้าเสื้อผ้าขายตลอดทั้งแนว

 

building-pahurat clip image002 0000

                                      บรรยากาศของถนนพาหุรัด



สงวนลิขสิทธิ์ 2558 หอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง ม.ศิลปากร
Designed by themescreative.com