Face Shield DIY

กิจกรรมที่ 5/2563  เรื่อง Face Shield DIY

โดย ขจาริน พริ้งพัฒนพงษ์

  • แบบที่ 1 อุปกรณ์ : 

1. แผ่นใส 2. ฟองน้ำ 3. เทปกาวสองหน้า 4. เทปกาวสี 5. ยางยืด 6. ลวดเย็บกระดาษ

  • แบบที่ 2

อุปกรณ์ : 1. แผ่นใส 2. ที่คาดผม 2 อัน 3. เทปใส

  • แบบที่ 3 

อุปกรณ์ : 1. แผ่นใส 2. แว่นตา 3. เทปใส

Application ประชุมออนไลน์

กิจกรรมที่ 4/2563  เรื่อง Application ประชุมออนไลน์

โดย ดร.นพดล เอกผาชัยสวัสดิ์

ปัจจุบันช่วงนี้หลายคนจำเป็นต้องทำงานที่บ้าน เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 บางครั้งอาจจะต้องมีการนัดประชุม แลกเปลี่ยน ผ่านทางออนไลน์ ซึ่งมี Application มากมายทั้งที่ฟรี และเสียเงิน ซึ่ง Application ที่จะพูดถึง Application บางตัวที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย บาง Application มหาวิทยาลัยมีให้บริการอยู่

  • Application แรก คือ Line เป็น Application ที่คุ้นเคยกันดี ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่ง Line สามารถประชุมสูงสุดได้ 200 คน สามารถ share หน้าจอบนเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น เหมาะกับหน่วยงานที่มีการใช้ LINE ในการคุยงานอยู่ หรือการประชุมที่ไม่เป็นทางการมากนัก

 

  • ถัดมาคือ Messenger Rooms ของ Facebook เป็น APP ที่รองรับการประชุมออนไลน์ที่มาเป็นคู่แข่งกับ Zoom ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมี account ของ Facebook อยู่แล้ว ด้งนั้นผู้ประชุมก็แค่ลงชื่อเข้า Facebook แล้วใช้งานได้ทันที โดยรองรับการประชุมได้พร้อมกันสูงสุดถึง 50 คน นอกจากนี้ Messenger Rooms ไม่จำกัดเวลาในการประชุมออนไลน์ด้วย ผู้ใช้ประชุมยัง สามารถใช้เอฟเฟค AR ได้แต่ต้องผ่านแอป Messenger และยังมีฟีเจอร์ใหม่ คือ สามารถเปลี่ยนภาพพื้นหลังและโทนแสงได้อีกด้วย
  • โปรแกรมประชุมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมทั่วโลก Zoom เป็น Application ที่เสียเงิน แต่หากใช้งานฟรี สามารถประชุมพร้อมกันได้สูงสุด 100 คน แต่มีการจำกัด video call ครั้งละไม่เกิน 40 นาที สามารถแชร์หน้าจอผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้และแชร์ได้พร้อมกันหลายคน มีการบันทึกการประชุมบนอุปกรณ์ส่วนตัวหรือบน Cloud รองรับการประชุมร่วมกันผ่านทาง PC, Mac, iOS, Android สามารถเปลี่ยนฉากหลังในห้องได้ด้วยการตั้งค่า Virtual background ได้ ยังมี function vote หรือทำsurvey ได้ แต่ผู้เข้าร่วมประชุมต้องสร้างบัญชีใหม่ก่อนหรือใช้บัญชีเดียวกับ Google หรือ Facebook ได้
  • Google Meet สามารถประชุมได้พร้อมกันถึง 100 คน สามารถแชร์ภาพหน้าจอบนมือถือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้ ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเข้าประชุมแบบภาพ Video Call หรือแบบเสียง หรือแบบ Chat ไม่เปิดกล้องก็ได้ ยังสามารถแสดงหน้าจอพร้อมกัน 16 คนได้ นอกจากนี้ยังมีคำบรรยายใต้ภาพให้ด้วย โดยการแปลงเสียงเป็นอักษร สำหรับผู้มีปัญหาการได้ยิน การใช้งานครั้งแรกอาจจะยาก ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้การใช้งานผ่าน Web Browser โดยไม่ต้องลง  Application  นอกจากนี้ยังสามารถบันทึกการประชุมเข้า Google Drive ได้อีกด้วย สามารถเข้าใช้งานได้ที่ SU Web Portal (https://portal.su.ac.th/) แต่ตอนนี้เปิดให้ใช้งานได้ฟรี
  • Microsoft Teams เป็น Application ที่มาแทน Skype รองรับการประชุมได้ถึง 250 คน สามารถแชร์หน้าจอได้ สามารถทำการเบลอฉากหลังได้ด้วย รองรับการใช้ผ่าน Web Browser ได้อีกด้วย นอกจากนี้มี User Interface ใช้งานง่าย สะดวกสบาย สามารถใช้งานร่วมกับ Office 365 เช่น Word, Excel, PowerPoint ได้ด้วย ซึ่งบุคลากรของมหาวิทยาลัยสามารถใช้งานได้ โดยไม่ต้องเสียเงิน เนื่องจากมหาวิทยาลัยจัดซื้อให้ใช้ได้ สามารถเข้าใช้งานได้ที่ SU Web Portal (https://portal.su.ac.th/)

การให้ความรู้วิธีการใช้เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย

กิจกรรมที่ 3/2563  เรื่อง  “การให้ความรู้เรื่องการใช้เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายทางหู

         พยาบาลจากมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ สาธิตวิธีใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดให้แก่บุคลากรหอสมุดวังท่าพระ เพื่อให้บุคลากรผู้เกี่ยวข้องสามารถวัดไข้ให้แก่ผู้เข้าใช้ห้องสมุดได้อย่างถูกวิธี 

  • การใช้อุปกรณ์

1.  อุณหภูมิปกติของคนเราประมาณ 36.5 -37.4 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิ 37.5 ขึ้นไป ถือว่ามีไข้ ถ้าพบอุณหภูมิเกิน 38 องศาเซลเซียส ขึ้นไปถือว่ามีไข้สูง อาจจะต้องให้ไปโรงพยาบาลหรือมาที่ห้องพยาบาล

2. การใช้แอลกอฮอล์เพื่อฆ่าเชื่อโรค ถ้าใช้แอลกอฮอล์เปอร์เซ็นต์ต่ำมาก จะไม่มีความแรงมากพอที่จะไปฆ่าเชื้อโรคได้ แต่ถ้าแอลกอฮอล์ 95% ขึ้นไปถึง 100 % แอลกอฮอล์จะระเหยเร็วเกินไป ยังไม่ทันฆ่าเชื้อโรคก็ระเหยไปแล้ว 

3. วิธีวัดอุณหภูมิ โดยค่อยๆ นำอุปกรณ์จ่อทางด้านหน้าของช่องหู ไม่จำเป็นต้องจ่อเข้าไปในช่องหู ให้ตำแหน่งตัวรับอุณหภูมิอยู่ที่ตำแหน่งช่องหู จากนั้นกดปุ่มวัดอุณหภูมิ แล้วอ่านค่า ดังตัวอย่างที่ 1-3

ตัวอย่างที่ 1

ตัวอย่างที่ 2

ตัวอย่างที่ 3

  • การเช็ดทำความสะอาดอุปกรณ์ โดยเช็ดรอบขอบปากเทอร์มิโมมิเตอร์ ไม่จำเป็นต้องเช็ดทางด้านหน้า ดังภาพ

 

ห้องสมุดสุด Fin ที่ฟินแลนด์

กิจกรรมที่ 2/2563  เรื่อง  “Iconic libraries@Finland”

  • ห้องสมุดของเมืองเอสโป (Espoo City Library)

            ห้องสมุดเมืองเอสโป (Espoo City Library) เป็นห้องสมุดประชาชน ตั้งอยู่ที่เมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ได้รับรางวัลห้องสมุดยอดเยี่ยมประจำปี 2562 (Library of the year 2019) จากงานเทศกาลหนังสือกรุงลอนดอน (London Book Fair 2019) เนื่องจาก “เป็นตัวอย่างที่ดีของการให้บริการที่เปิดกว้างและสร้างสรรค์สำหรับทุกคนและทุกวัย ด้วยสถานที่ตั้งและโครงการสำหรับชุมชน ทำให้มั่นใจได้ว่าจะเข้าถึงหัวใจและความคิดของทุกคนในเมือง มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ และยังครอบคลุมไปถึงกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มความต้องการพิเศษ รวมทั้งผู้อพยพลี้ภัย” เมืองเอสโปมีห้องสมุดประชาชนหลายแห่ง กระจายอยู่ทั่วเมือง และยังมีห้องสมุดเคลื่อนที่ (Mobile library) เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนสามารถเข้าถึงห้องสมุดได้อย่างเต็มที่ ห้องสมุดบางแห่งใกล้ชิดธรรมชาติเป็นที่สุด โดยตั้งอยู่กลางป่า ไม่มีบุคลากรให้บริการ แต่จะให้ผู้ใช้บริการตนเองตั้งแต่การเปิดประตูเข้าห้องสมุดโดยใช้บัตรห้องสมุด

             ห้องสมุดหลายแห่งตั้งอยู่ในศูนย์การค้า เปิดให้บริการทุกวัน เวลาเปิดปิดห้องสมุดสามารถยืดหยุ่นตามความต้องการของผู้ใช้  นับเป็นห้องสมุดที่มีชีวิต เพราะนอกจากจะมีหนังสือให้บริการเช่นเดียวกับห้องสมุดทั่วไปแล้ว ยังเป็นสถานที่พบปะพูดคุยและพักผ่อนหย่อนใจได้ด้วย  มีการจัดกิจกรรม งานอีเว้นท์ เวิร์คช็อป  จัดปาร์ตี้ มีห้องประชุม สตูดิโอสำหรับดนตรีรวมทั้งพื้นที่เมกเกอร์สเปซให้ผู้คนได้เรียนรู้และได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินบันเทิงใจไปพร้อมกัน  นอกจากนี้ยังให้บริการอุปกรณ์ต่างๆ หลากหลายประเภท เช่น เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ จักรเย็บผ้า เครื่องตัดเลเซอร์ นอกจากนี้ยังมีวัสดุ อุปกรณ์ รวมทั้งเครื่องมือต่างๆ ให้บริการและสามารถยืมกลับบ้านได้ด้วย เช่น อุปกรณ์งานไม้ ไขควง ฆ้อน สว่าน อูคูเลเล่ กีตาร์ ฮาร์ดดิสค์พกพา และอื่นๆ

คลิปนำชมห้องสมุด : 

https://www.youtube.com/watch?v=rVz82UMWR_E&t=13s

https://www.youtube.com/watch?v=rVz82UMWR_E&t=216s

  • Helsinki Central Library Oodi

           ห้องสมุดออดิ เป็นห้องสมุดประชาชนขนาดมหึมา ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเฮลซิงกิ เมืองหลวงของฟินแลนด์ ได้รับรางวัลห้องสมุดประชาชนยอดเยี่ยมประจำปี 2019 โดยสหพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสมาคมห้องสมุดและสถาบัน (IFLA) ถูกออกแบบให้เป็นแหล่งเรียนรู้สมัยใหม่ ที่ประกอบด้วยพื้นที่จัดกิจกรรมนานาชนิด นอกเหนือจากการเป็นแหล่งจัดเก็บและให้บริการหนังสือ อาคารห้องสมุดแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่ ชั้น 1 ประกอบด้วย พื้นที่ยืมคืนหนังสือด้วยตัวเอง พื้นที่จัดนิทรรศการ พื้นที่พบปะพูดคุย แกลเลอรี่ ห้องประชุมเอนกประสงค์ ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ห้องสมุดสำหรับครอบครัว และโรงภาพยนตร์ ชั้น 2 ประกอบด้วย พื้นที่ทำงาน พื้นที่พบปะสังสรรค์ การทำงานเป็นกลุ่ม Group working ห้องสำหรับเล่นเกมส์ และ สตูดิโอ ชั้น 3 ประกอบด้วย พื้นที่อ่านหนังสือ ขั้นบันไดขนาดใหญ่สำหรับนั่ง คอลเลคชั่นวารสาร หนังสือพิมพ์ และหนังสือซึ่งมีกว่าแสนเล่ม หนังสือพิมพ์ ระเบียงกว้างซึ่งเป็นพื้นที่เปิดโล่ง และคอลเลคชั่นสำหรับเด็ก พื้นที่จัดงานอีเว้นท์ และที่พิเศษสุดคือมีรถเข็นหนังสืออัตโนมัติช่วยในการขนส่งหนังสือจากชั้น 1 ขึ้นไปชั้น 3 และยังมีหุ่นยนต์คัดแยกหนังสือจัดเรียงหนังสือ

คลิปนำชมห้องสมุด:

https://www.youtube.com/watch?v=5QSE4UIORZk

https://www.youtube.com/watch?v=n8x86PnnCeE

https://www.youtube.com/watch?v=dPb9o3uDF_Q&t=5s

 

 

Smart English learning

กิจกรรมที่ 1/2563  เรื่อง  “Smart English learning”

                  สวัสดีค่ะ จากการได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการพัฒนาภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยแมซซี (Massey University) ประเทศนิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ 16-28 มิถุนายน 2562 อาจารย์ผู้สอน ดร. อลัน แมกกี (Dr.Alan McGee) ได้สอนเรื่องพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการพูดภาษาอังกฤษ นั่นคือ การออกเสียง (pronunciation)  “ออกเสียงให้ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง” ชาวต่างชาติจะสามารถเข้าใจได้ว่าเราพูดอะไร ด้วยการออกเสียงของเรานี่เอง

              ดร.อลันได้แนะนำ YouTube เรื่องการอ่านออกเสียง วิธีการพูด ให้เราได้ฝึกฝนกัน ที่สำคัญคือ เราสามารถนำไปฝึกที่ไหนเมื่อใดก็ได้ ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดการโดยการค้นจาก Google, YouTube ในเรื่องอื่นๆ ที่เราสนใจ เพื่อเรียนรู้ ฝึกฝน พัฒนาได้ด้วยตัวเองอีกทางหนึ่ง ซึ่งเป็นที่มาของเรื่อง Smart English learning ในครั้งนี้

              ดร.อลัน ได้แนะนำ YouTube หลายเรื่อง ดังต่อไปนี้

  • Online dictionary ดร.อลันแนะนำให้ใช้พจนานุกรมอังกฤษเป็นอังกฤษ ดังตัวอย่างที่ให้มา

https://www.oxfordlearnersdictionaries.com/definition/english/culture_1?q=culture

  • การฝึกออกเสียง /l/ และ /r/

https://www.youtube.com/watch?v=uv84Gu2hH-4

https://www.youtube.com/watch?v=2cmmBS0f5X4

  • การฝึกออกเสียง /v/ และ /w/

https://www.youtube.com/watch?v=e8NbVrMGrh8

https://www.youtube.com/watch?v=tGBCbXNQ8k0

  • การฝึกออกเสียง /sh/ และ /ch/

https://www.youtube.com/watch?v=KpsA2b-gKpU

https://www.youtube.com/watch?v=SyIUJh5iC4I

  • การเขียน email

https://www.youtube.com/watch?v=xay5TeJVSC0

https://www.youtube.com/watch?v=itLLVAJjXNI

  • การเรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเองจาก BBC

http://www.bbc.co.uk/learningenglish/english/course/lower-intermediate/unit-1/session-1

http://www.bbc.co.uk/learningenglish/english/course/lower-intermediate/unit-1/session-2

http://www.bbc.co.uk/learningenglish/english/course/lower-intermediate/unit-1/session-3

  • ฝึกฟังด้วยการแนะนำเมืองเวลลิงตัน เมืองหลวงของนิวซีแลนด์

https://www.youtube.com/watch?v=JK-GoY0lEJA

https://www.youtube.com/watch?v=a3oml68U1qY

https://www.youtube.com/watch?v=9DDcfbYxcA8

https://www.youtube.com/channel/UCdnhYxgQbDp3zn6NCjc6FuQ

https://www.youtube.com/watch?v=L6g0AmnUr3Q

https://www.youtube.com/watch?v=Ihcuv87SBAQ

https://www.youtube.com/watch?v=9vBhQdP0Wf4

Experience from IFLA/ALP Programme

วันที่ 28 มีนาคม 2562  จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ  22  คน

  • สรุปสาระสำคัญ ดังนี้  
  • เกี่ยวกับโครงการ : IFLA/ALP Programme (Action for development through Libraries Programme เป็นโครงการของ IFLA (International Federation of Library Associations and Institutionsสหพันธ์สมาคมห้องสมุดนานาชาติ  (ระหว่างประเทศ) ภายใต้โครงการย่อย คือ โครงการ Advancement in Librarianship Program เป็นโครงการส่งเสริมให้บรรณารักษ์จากประเทศไทยไปศึกษาดูงาน ณ ห้องสมุดในต่างประเทศ
  • ผู้เข้าร่วมโครงการ : นางสาวพรทิพย์ สมฤทธิ์ 
  • ห้องสมุดที่ได้ไปศึกษาดูงาน : Griffth University Library, Australia
  • ค่าใช้จ่าย : ได้รับทุนสนับสนุนจาก IFLA 
  • ระยะเวลาของโครงการ : 6 มกราคม – 5 กุมภาพันธ์ 2546
  • กิจกรรม : ศึกษาและดูงานแผนกต่างๆ ของห้องสมุด Griffith University Library, Queenland College of art, Queenland conservatorium วิทยาเขต South Bank
  • ไฟล์นำเสนอ

Easy packing for moving

Easy packing for moving

วันที่ 14 มีนาคม 2562  จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ  20  คน

  • สรุปสาระสำคัญ ดังนี้  

          ผู้เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องเคล็ดลับการจัดเก็บสิ่งของเพื่อเตรียมการขนย้ายให้สะดวกและรวดเร็วขึ้น สรุปได้ว่ามีวิธีการดังนี้

  1. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการเก็บของ เช่น กล่อง กระเป๋าล้อลาก พลาสติกฟองอากาศ โฟมกันกระแทก หนังสือพิมพ์ กระดาษ เทปปิดฝากล่อง เชือกฟาง ปากกา
  2. พิมพ์ป้ายชื่อสิ่งของที่จะขนย้ายล่วงหน้า เพื่อเตรียมแปะบนกล่อง
  3. เริ่มต้นด้วยการจัดการกับวัสดุ สิ่งของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันหรือที่จำเป็นต้องใช้น้อยที่สุดก่อน
  4. ใช้โฟมหรือกระดาษสำหรับการห่อถ้วย จาน ชาม แก้วน้ำ
  5. ใช้สิ่งของนุ่มๆ ห่อหรือรองก้นเพื่อป้องกันการเสียหาย
  6. ใช้หนังสือพิมพ์หรือกระดาษขยำเป็นก้อนมายัดลงในช่องว่างที่เหลือในกล่อง
  7. ใช้กระเป๋าล้อลากสำหรับใส่สิ่งของที่หนัก เช่น หนังสือ
  8. ถ่ายรูปสิ่งที่ติดตั้งยากๆ เช่น สายไฟคอมพิวเตอร์
  9. ทำหูหิ้วให้กล่องแบบง่ายๆ ด้วยการตัดข้างกล่องเป็นรูปสามเหลี่ยมหัวกลับ 
  10. สิ่งของในแต่ละลิ้นชัก เก็บรวมไว้ในที่เดียวกัน เช่น ใส่ในกล่อง ถุงเดียวกัน 
  11. ใช้เชือกฟางมัดสิ่งของ เช่น กล่อง หนังสือ เพื่อให้ขนย้ายได้สะดวก

           วิธีการผูกกล่องหรือสิ่งของให้แน่นหน่า

1. ขึงเชือกจากด้านล่างของกล่อง ขึ้นมาด้านบนกล่อง

    

2. ไขว้เชือกทั้ง 2 ด้านไปทางด้านล่างของกล่อง   

    

3. ตัดเชือกให้มีความยาวพอดี ไม่ยาวหรือสั้นเกินไป 

      

4. สอดเชือกไขว้กันทางด้านล่างของกล่องเพื่อยึดให้แน่นไม่หลวมหลุดง่าย

      

5. ดึงปลายเชือกทั้ง 2 ด้านขึ้นมาด้านบน แล้วสอดเข้าใต้เชือกที่ไขว้กันตามข้อที่ 2 ประมาณ 2-3 รอบ 

    

6. ผูกเชิอกแบบเงื่อนกระตุก เพื่อสะดวกในการคลายและสามารถนำเชือกมาใช้ได้ใหม่

       

7. เก็บปลายเชือกที่เหลือให้หมด  โดยสอดเข้าไปภายในเส้นเชือกที่มัดกล่อง

      

8. จะได้กล่องที่ผูกมัดอย่างแน่นหนาเตรียมขนย้าย

     

 

 

Access to resources for smart staff

กิจกรรมที่ 6/2561  เรื่อง  “Access to resources for smart staff”

วันที่ 26 กรกฎาคม 2561 จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ  20  คน

  • สรุปสาระสำคัญ ดังนี้  

             ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์  คืนความเป็นมนุษย์ด้วยเทคโนโลยีทางสมอง ด้วยการคิดค้นและสร้างเก้าอี้ล้อเลื่อนที่ควบคุมระบบประสาทและอุปกรณ์ที่คล้ายกันสำหรับผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตครึ่งซีก https://www.youtube.com/watch?v=3IRPNa6MWPY&feature=youtu.be  Smart staff ก็สามารถช่วยผู้ใช้บริการห้องสมุดได้เช่นเดียวกัน โดยจำเป็นต้องรู้จักและเรียนรู้เทคนิควิธีการใหม่ๆ เช่น การเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆ รู้จักเว็บไซต์ของห้องสมุด ฐานข้อมูลที่ห้องสมุดมีให้บริการ รวมทั้งโปรแกรมการจัดการฐานข้อมูลบรรณานุกรม (Endnote) เว็บไซต์ของบัณฑิตวิทยาลัย และเว็บไซต์อื่นๆ ที่จำเป็นต้อการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษา

  • ภาพกิจกรรม

Funny DIY bookmarks

กิจกรรมที่ 5/2561 ชุมชนนักปฏิบัติ เรื่อง  “Funny DIY bookmarks”

วันที่ 19 กรกฎาคม 2561 จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ  24  คน

           

  • สรุปสาระสำคัญ ดังนี้  

          Bookmark (ที่คั่นหนังสือ) คือ แผ่นกระดาษ หนัง พลาสติก หรือวัสดุอื่นๆ ที่ใส่ระหว่างหน้าหนังสือเพื่อให้สามารถค้นหาหน้าที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว  ปัจจุบันที่คั่นหนังสือมีการนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยร้านหนังสือแถมมากับหนังสือเพื่อเป็นการโฆษณาหนังสือ นอกจากนี้ ยังมีการผลิตเพื่อจำหน่ายหรือเป็นของที่ระลึกในโอกาสต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส งานศพ และเป็นของสะสม

          ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้จะเป็นการพับกระดาษให้เป็นที่คั่นหนังสือ (Bookmark) แนวตลกขำขัน ดังภาพข้างต้น ซึ่งเป็นประเภท Bookmark  Corner สำหรับคั่นที่มุมกระดาษ โดยมีวิธีการพับกระดาษ 3 แบบ ดังนี้

แบบที่ 1 : https://youtu.be/UAuRv2K1lbQ

แบบที่ 2 : https://youtu.be/SZCcDaVe2_4

แบบที่ 3 : https://youtu.be/joh6qijKhps

ภาพกิจกรรม :         

  บรรณานุกรม

  1. Yutthana. (2556). ที่คั่นหนังสือมีที่มาอย่างไร. Retrieved from https://guru.sanook.com/8139/
  2. Leyla Torres. (2013). Make a Corner Origami Bookmark – Marcapáginas EsquineroRetrieved fromhttps://www.youtube.com/watch?v=hWzLwwm3d0Y&t=216s&list=WL&index=32
  3. Hazregalos. (2012). Marcapáginas de Monstruos – DIY – Monster Bookmark. Retrieved fromhttps://www.youtube.com/watch?v=EvKDWlUH5BU&t=248s
  4. Red Ted Art. (2015). Easy paper monster & owl corner bookmarks. Retrieved from  https://www.youtube.com/watch?v=YVkJPCp_1UQ&t=49s

สรรสาระจาก TK Forum 2018

กิจกรรมที่ 4/2561  เรื่อง  “สรรสาระจาก TK Forum 2018”

วันที่ 26 มีนาคม 2561 จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ  22  คน

  • สรุปสาระสำคัญ ดังนี้  

           TK Forum 2018 หัวข้อ “Creating Better Library: The Unfinished Knowledge” เป็นการบรรยายพิเศษ ถ่ายทอดประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนาห้องสมุดและพื้นที่การเรียนรู้ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี เต็มอิ่มกับความรู้ 4 เรื่องโดย 4 วิทยากรจาก 4 ประเทศ

  1. Library Management in Disruptive Times: Skill and Knowledge for an Uncertain Future” 
    โดย Steve O’Connor / ออสเตรเลีย
  2.  “Smart Libraries for Tomorrow: Innovate and Transform” 
    โดย รศ.ดร.วนิดา แก่นอากาศ / ไทย
  3. Creating Great Spaces for Learning” 
    โดย Andrew Harrison / สหราชอาณาจักร
  4. A New Tale of the Public Library in the Networked Society: From Institutions of the Industrial Age to Innovation Agents – Experiences from Denmark” 
    โดย Rolf Hapel / เดนมาร์ก