พระที่นั่งในหมู่พระมหาปราสาท

พระที่นั่งในหมู่พระมหาปราสาท ได้แก่ 

1. พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

dusit clip image002

ที่ตั้งพระที่นั่งต่างๆในบริเวณพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
ที่มา : จดหมายเหตุการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์และจากการวิเคราะห์

พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นกลางด้านตะวันตกของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเมื่อ พุทธศักราช 2332 แทนพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาทที่ถูกเพลิงไหม้ ลักษณะเป็นปราสาทจตุรมุข ที่มุขด้านหน้าพระที่นั่งมีพระที่นั่งบุษบกมาลาตั้งอยู่กลางมุข สำหรับพระมหากษัตริย์ประทับในเวลาเสด็จออกในงานพระราชพิธี อันเป็นเป็นมหาสมาคม หรือให้ประชาชนเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ด้านหลังพระมหาปราสาทมีมุขกระสันเชื่อมต่อกับพระที่นั่งพิมานรัตยา

 

dusit clip image004   dusit clip image003

พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ภาพสเก็ตซ์จากบทความเรื่อง “A Siam” โดย Hacks,L’Illustration,18 Mars,1893
ที่มา : จดหมายเหตุการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์

   พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท (ปัจจุบัน)
     
dusit clip image002 0000   dusit clip image002 0001

พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท (อดีต ) 

ที่มา : จดหมายเหตุการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์

   พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท (ปัจจุบัน)

 

ภายในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธี บำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ และใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมศพพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระอัครมเหสี และบางครั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระศพพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์อีกด้วย และที่สำคัญที่สุดคือใช้ประดิษฐานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จนกระทั่งกลายเป็นธรรมเนียมสืบต่อมาเมื่อมีการสวรรคตของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีองค์ต่อๆมา


อาณาเขตของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทมีกำแพงแก้วล้อมรอบ 3 ด้าน มีประตูยอดมณฑปประดับกระเบื้องเคลือบสีเป็นทางเข้าออกทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านตะวันออก 2 ประตู ด้านตะวันตก 1 ประตู และด้านเหนือ 3 ประตู ด้านหน้าพระที่นั่ง มีทิมคด 2 หลัง ที่แนวกำแพงแก้วด้านตะวันตก มีหอเปลื้องเครื่อง 1 หลัง มีสะพานเชื่อมต่อกับมุขด้านตะวันตกของพระมหาปราสาทด้านหลังพระมหาปราสาทมีเขื่อนเพชรกั้นเขตระหว่างพระราชฐานชั้นกลางและชั้นใน

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญ

dusit clip image005
ชั้นหลังคา 7 ชั้น ลักษณะยอดปราสาท

จุดเด่นจะอยู่ที่ชั้นหลังคา แบ่งเป็น 7 ชั้นมียอดสี่เหลี่ยมไม้สิบสองยื่นออกมารับบานแถลงทุกชั้น มีครุฑแบบชายคาทั้งสี่ด้านแทนคันทวย อันเป็นลักษณะยอดมหาปราสาทที่มีลักษณะถูกต้องตามหลักวิชาประกอบด้วยศิลปะที่งดงาม

ศิลปกรรมที่สำคัญ

dusit clip image007

พระแท่นราชบัลลังก์ประดับมุก
ที่มา : จดหมายเหตุการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์

 

พระราชบัลลังก์ประดับมุขทอดอยู่เหนือพระแท่นกลางพระมหาปราสาทกางกั้นด้วยพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรแท่นบรรทมประดับมุขของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หลังบานซุ้มทวารเขียนเป็นรูปเทวดารักษาพระทวารประทับยืนเหนือพระแท่น

สงวนลิขสิทธิ์ 2558 หอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง ม.ศิลปากร
Designed by themescreative.com