ตึกแถวถนนพระสุเมรุ

ที่ตั้ง
ตึกแถวบริเวณริมถนนพระสุเมรุ ฝั่งตรงข้ามวัดบวรนิเวศวิหาร แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

 

ประวัติ
การสร้างป้อมพระสุเมรุในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนั้น สร้างขึ้นเพื่อป้องกันบ้านเมืองพร้อมกับป้อมตามพระราชประเพณีโบราณรวม 14 ป้อม คือ พระสุเมรุ ยุคนธร มหาปราบ มหากาฬ มหาไชย มหาฤกษ์ มหายักษ์ จักรเพชร ผีเสื้อ พระอาทิตย์ พระจันทร์ วิสันธร เสือทะยาน และหมู่ทะลวงถนนพระสุเมรุเริ่มต้นจากป้อมพระสุเมรุริมแม่น้ำเจ้าพระยายาวขนานไปกับคลองรอบกรุงไปถึงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ตลอดถนนพระสุเมรุนี้มีสถาปัตยกรรมที่สำคัญหลายแห่งซึ่ง ตึกแถวริมถนนพระสุเมรุที่ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตรงข้ามวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นสถาปัตยกรรมที่สำคัญ ตัวอาคารสร้างขึ้นในสมัยสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ลักษณะสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะตะวันตก ซึ่งนิยมอย่างแพร่หลายในรัชกาลที่ 5 ก่อนรัชกาลที่ 5 นั้น รับอิทธิพลศิลปะตะวันตกมาตกแต่งอาคารหรือรูปทรงเฉพาะวังเจ้านาย และบ้านคหบดีเท่านั้น บ้านเรือนคนธรรมดาหรือบ้านแถวที่เกิดขึ้นนั้นเลียนแบบอิทธิพลของศิลปะแบบจีนมากกว่า


ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

ตึกแถวบริเวณถนนพระสุเมรุเป็นตึก 2 ชั้นหลังคามุมกระเบื้องว่าวมีขอบสันหลังคา อาคารชั้นล่างเปลี่ยนจากสภาพเดิม แต่ข้างหน้ายังคงเป็นบานประตูไม้แบบบานเฟี้ยม ด้านบนประตูมีช่องแสงมีลักษณะเป็นแบบปูนฉลุลาย มีชายคาปูนคลุมทางเดิน ชั้นบนยังคงสภาพเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง ตึก 1 คูหา มีบานหน้าต่าง 2 ช่อง เป็นบานไม้แบบลูกฟักกระดานดุน ช่องแสงเหนือขอบบนของหน้าต่างมีลักษณะเป็นช่องแสงแบบลายปูนฉลุลาย ส่วนขอบด้านล่างของหน้าต่างจะมีลายปูนปั้นประดับอยู่

 

                                                building-sumen3                  building-sumen2

 

                                                 building-sumen4                                 building-sumen6

บรรณานุกรม
กรมศิลปากร กองโบราณคดี. รายงานการสำรวจโบราณสถานในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัทหิรัญพัฒน์จำกัด, 2535
สงวนลิขสิทธิ์ 2558 หอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง ม.ศิลปากร
Designed by themescreative.com